วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552
เถางูเขียว
แหล่งที่พบ พบตามป่าดิบแล้งเกือบทุกภาค
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อสั้นตามข้อ 2-3 ดอก กลีบดอกสีขาวอมเขียว
กลีบปากสีขาว โคนเชื่อมติดกับเส้าเกสร จึงมีลักษณะห่อม้วนขึ้น
ด้านในมีสีเหลืองอมน้ำตาล ปลายกางผายออกเป็นแผ่นยาว
ขอบย้วยเป็นคลื่น มีขนยาวสีชมพูเรื่อหนาแน่น ดอกขนาด3-4ซม.
ออกดอกเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ในสภาพธรรมชาติเป็นไม้เถาเลื้อย อวบน้ำ ต้นเลื่อยไปได้ไกล
หลายเมตร
เข็มขาว
ฟ้ามุ่ย
แหล่งที่พบ ป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้งที่ซอกใบ ช่อดอกโปร่ง ยาว 20-30ซม.
กลีบค่อนข้างกลางขนาดใหญ่ ดคนคอดเล็ก กลีบสีฟ้า หรือสีฟ้า
อมม่วง หรือมีลายเป็นตาราง ซึ่งจะมีสีเข้มกว่าสีพื้น กลีบปาก
ขนาดเล็ก สีเข้มกว่ากลีบอื่นๆ ดอกขนาด 4-5ซม.
ออกดอกเดือนกรกฏาคม-ธันวาคม
เป็นกล้วยไม้ที่เป็นนิยมมาช้านาน มีความหลากหลายของขนาด
ต้น ใบ ดอก และสีของดอกมาก ปัจจุบันในสภาพธรรมชาติ
พบน้อยมาก ที่ปลูกเลี้ยงกันส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสม
สามปอยดง
แหล่งที่พบ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อโปร่ง ยาว12-15ซม. กลีบสีเหลืองอมน้ำตาล และมีลายตารางสีน้ำตาลเข้มหนา
แน่นจนดูคล้ายกับว่ากลีบเป็นสีน้ำตาลเข้ม กลีบปากขนาดเล็กกว่ากลีบอื่น สีเหลืองอ่อน
ช่วงกลางกระดกกลับหลัง ปลายเว้าแยกเป็น 2แฉก ดอกขนาด
ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน
เสือสาคริก
เอื้องดิน
แหล่งที่พบ ตามป่าโปร่งที่มีดินร่วนและชุ่มชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้งยาว60-100ซม. ดอกเกิดที่ปลายช่อค่อนข้างแน่น
กลีบสีชมพูไปจนถึงสีม่วงเข้ม กลีบปากขนาดเล็กและสั้นๆ มีสีเข้มกว่ากลีบอื่นๆ
ช่วงกลางกลีบปากมักจะคอดกิ่ว ปลายแผ่เป็นแผ่นกว้าง ดอกขนาด2-4ซม.
ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน
ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ต้นจะสร้างหัวใหม่ขยายออกไปเรื่อยๆ ปลูกเลี้ยงค่อนข้างง่าย
เหลืองพิศมร
แหล่งที่พบ ป่าโปร่งหรือชายป่า ตามลานหินที่มีน้ำซับเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อโปร่ง5-8ดอก ช่อดอกยาว 20-40ซม.ดอกมักอยู่ค่อนไปางปลายช่อ กลีบเลี้ยง
และกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน กางผายออกอยู่ในระนาบเดียวกัน กลีบสีเหลือง อาจมีขืดสีม่วงที่โคน
กลีบปากช่วงกลางดอดกิ่ว ปลายกว้างและหยักเว้า โคนมีหูปากพับตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีเหลืองมีขีดสีม่วง
หนาแน่น ดอกขนาด2.5-3ซม.
ออกดอกเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
เป็นกล้วยไม้ดินที่พักตัวในหน้าแล้ง แต่ใบออกดอกช่วงฤดูฝน
เอื้องพวงพลอย
แหล่งที่พบ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อโค้งห้อยลงที่ยอด ช่อดอกยาว 5-6ซม.ดอกในช่อแน่นเรียงกันเป็นระเบียบ
กลีบสีนวลหรือสีขาวอมน้ำตาลอ่อน กลีบปากลักษณะเป็นกระพุ้งคล้ายรูปเรือ ปลายแผ่ออกเป็นแผ่น มีใบประดับสีน้ำตาล
ที่โคนดอก ดอกขนาดเล็ก มีขนาดไม่เกิน0.5ซม.
ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน
เอื้องเหลี่ยลำต่อ
แหล่งที่พบ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อโค้งห้อยลงที่ยอด ช่อดอกยาว 5-6ซม.ดอกในช่อแน่นเรียงกันเป็นระเบียบ
กลีบสีนวลหรือสีขาวอมน้ำตาลอ่อน กลีบปากลักษณะเป็นกระพุ้งคล้ายรูปเรือ ปลายแผ่ออกเป็นแผ่น มีใบประดับสีน้ำตาล
ที่โคนดอก ดอกขนาดเล็ก มีขนาดไม่เกิน0.5ซม.
ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน
เอื้องพร้าว
แหล่งที่พบ ป่าดิบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อ10-20ดอกจากโคนต้น ช่อดอกตั้งยาว60-100ซม. ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเรียวยาว กางผายออกสีน้ำตาลอมแดง โคนกลีบปากม้วนเป็นหลอดยาว สีเหลือง ด้านนอกสีขาว
ปลายผายออกเล็กน้อยคล้ายรูปแตร สีแดงเข้มอมม่วง ขอบย้วยเป็นคลื่น ดอกขนาด 5-7ซม.ดอกทยอยบานเป็นเวลา
นาน มีกลิ่นหอม
ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
ใบรูปแถบกว้าง แผ่นใบบางพับเป็นจีบตามยาว โคนหุ้มซ้อน ทับกันดูคล้ายว่าเป็นต้น นิยมปลูกกันมากทางภาคเหนือ
สร้อยระย้า
มังกรทอง
แหล่งที่พบ ป่าดิบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
ลักษณะ ออกดอกเป็๋นช่อแตกแขนงที่ซอกใบ ช่อดอกโปร่ง ยาว 20-25ซม.
กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว มีเส้นสีม่วงแดงตามความยาว กลีบ2-5เส้น หูกลีบปากตั้งขึ้นทั้งสองด้าน ขอบกลีบปากย้วย
เป็นคลื่นและฉีกเป็นครุย มีเดือย ดอกขนาดเล็กไม่เกิน1ซม.
ออกดอกเดือนพฤษภาคม-กรกรฏาคม
เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย รากและใบขนาดค่อนข้างใหญ่ ใบหนา
ค่อนข้างอวบน้ำ แต่ไม่แข็ง เหี่ยวและหักง่าย
เอื้องใบพลู
แหล่งที่พบ ขึ้นตามพื้นดินในที่ร่มตามป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้งยาว 10-15ซม. ส่วนใหญ่มักจะมี 2ดอก ต่อช่อ กลีบเรียวยาว สีเขียวอมน้ำตาล
กลีบปากม้วนเป็นหลอด สีม่วงอ่อน มีแถบสีเหลืองตามความยาวกลีบที่บริเวณ กลางกลีบ ดอกขนาด2-3ซม.
ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษานยน
มีหัวอยนู่ใต้ดิน แตกไหลสร้างเป็นหัวใหม่ แต่ละหัวมีเพียง1ใบ
รูปร่างเกือบกลม และมักพับจีบคล้ายพัด จัดว่าเป็นกล้วยไม้ที่มีใบสวยงามชนิดหนึ่ง
สิงโตนกเหยี่ยวใหญ่
แหล่งที่พบ ป่าดิบทางภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนสีเขียว มีเส้นสีม่วงแดงตาม
แนวยาวเป็นระยะ ขอบมีขนเป็นครุยสีม่วงแดง ขอบทางด้านนอกของกลีบเลี้ยงด้านข้างทั้งสองกลีบบิดตัวเชื่อมติดกัน
เป็นหลอดปลายเป็นหางยาว กลับดอกด้านข้างเป็นครุยสีม่วงแดง มีเดือย
เป็นตุ่มขนาดเล็กสีม่วงแดงหนาแน่น กลีบปากขนาดเล็กแผ่เป็นแผ่นสีแดง มีสันนูนตรงกลาง 2สัน ดอกยาว 16-18ซม.
ออกดอกเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
เอื้องลิ้นดำ
แหล่งที่พบ ป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกค่อนข้าง
หนาเป็นมัน และมักงุ้มลงมาคลุมกลีบปาก สีเหลืองอมเขียว
กลีบปากเป็นแผ่นหนา สีม่วงอมน้ำตาลเข้ม แยกเป็นสองช่วง
ช่วงโคนผิวเรียบและมีหูปาก ช่วงปลายแผ่เป็นแผ่นกลมหรือรูปไข่ ผิวขรุขระเป็นตุ่ม
ดอกขนาด 1-1.5ซม.ดอกบานนาน
หลายวัน
ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ว่านน้ำทอง
แหล่งที่พบ พบขึ้นตามใบไม้ผุ ซอกหิน หรือบนตามป่าดิบทางภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ยาว8-20ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง
สีขาวกลีบปากบิดตรงข้ามกับเส้าเกสร อับเรณูสีเหลือง ดอกขนาด
ประมาณ 1 ซม. จะทยอยบานจากโคนช่อ
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน
ทุกส่วนของต้นมีลักษณะอวบน้ำ บางใส ใบมีความหลากหลาย
มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลแดงหรือเขียว เส้นใบมีสีนวลสีชมพู
หรือสีชมพูอมแดง เป็นกล้วยไม้ที่มีใบสวยงาม จนมี
ชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า "Jewel Orchids"
เอื้องดอกหญ้า
เอื้องม้าลาย
ลิ้นมังกร
แหล่งที่พบ ขึ้นตามซอกหิน บนหิน หรือตามที่ดินร่วนในป่าดิบทั่วทุกภาค
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ยาว 7-18ซม. ดอกมักเกิดค่อนไปทาง
ปลายช่อ3-10 ดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเหลืองอมส้ม สีแสด
สีแสดอมแดง สีชมพู กลีบปากแผ่เป็นแผ่นปลายเว้าลึกเป็น 2แฉก ดอกขนาด 1.5-3 ซม.
ทยอยบานนาน 1-2สัปดาห์
ออกดอกเดือนกันยายน-ตุลาคม
เป็นกล้วยไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีหัวใต้ดิน แตกใบทอง
ช่อดอกช่วงฤดูฝน ใบมักมีลายจุดประ
เอื้องนิ่มดอกเหลือง
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อ 6-8ดอกบริเวณใกล้ยอด ช่อดอกโปร่ง ดอกสีเหลือง
กลีบเลี้ยงกางผายออก และมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอก
โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีน้ำตาลแดง ปลายแผ่ออกเป็นแผ่นและงอนออก ขอลย้วยเล็กน้อย กลางกลีบปาก
มีสนตามความยาวกลีบ ดอกขนาด 1-1.2*2ซม.
ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
นางอั้วไพล
แหล่งที่พบ พบขึ้นตามพื้นดินในป่าเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ยาว15-20 ซม. ดอกมักเกิดค่อนไปทาง
ปลายช่อ ช่อดอกโปร่ง 30-40ดอก สีเหลืองอมเขียว กลีบปาก
หยักลึกเป็น 3แฉก รูปร่างเรียวยาว ดอกขนาดไม่เกิน0.5ซม.
ออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน
เป็นกล้วยไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีหัวใต้ดิน แตกใบแทงช่อดอก
ช่วงฤดูฝน
นางตายน้อย
แหล่งที่พบ พบขึ้นตามพื้นดินในป่าดิบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้งยาว 20-40ซม. ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ ลักษณะเป็นพุ่ม
สีขาว กลีบปากเรียงยาว สีขาว ที่โคนมีเดือนยาวท้งสองข้าง ติ่งที่เห้นกลางดอกเป้นส่วนเส้า
เกสร ดอกขนาด 1.5-2ซม.
ออกดอกเดือนกันยายน-ตุลาคม
เป็นกลวยไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีหัวอยู่ใต้ดิน แตกใบแทง
ช่อดอกช่วยฤดูฝน
นางอั้วน้อย
แหล่งที่พบ พบขึ้นตามพื้นดินในที่ค่อนข้างร่มตามป่าดิบชื้นทั่วทุกภาค
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ยาว12-20ซม. ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ
ช่อดอกค่อนข้างแน่น สีขาว กลีบปากเป็น3 แฉก แฉกกลางเป็นแถบแคบเรียว สองแฉกทางด้านข้างแผ่น เป็นแผ่น
กว้าง ขอบเป็นครุย บางครั้งแฉกข้างทั้งสองข้างอาจลดรูปเป็นติ่งเล็ก ดอกขนาด 1.2-1.5ซม.
ออกดอกเดือน สิงหหาคม-ตุลาคม
เป็นกล้วยไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีหัวอยู่ใต้ดิน แตกใบแทง
ช่อดอกช่วงฤดูฝน
ว่านจูงนาง
แหล่งที่พบ ขึ้นตามป่าดิบ ป่าดิบขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคตะวันตก
ลักษณะ ช่อดอกเกิดจากโคนหัว ก้านช่อดอกยาว 10-20ซม.โค้งลงและ
มีใบประดับคลุมเป็นระยะ ดอกเกิดที่ปลายช่อเป็นกลุ่ม 8-12ดอก
สีขาว กลีบปากรูปคล้ายเรือ โคนเชื่อมติดก้บโคนของเส้าเกสรที่
ยื่นออกมาเป็นถุงตื้นๆ ภายในมีจุดสีม่วงอมชมพูเข้มหนาแน่น
ปลายกลีบปากผายออก มีสีเหลือง ดอกขนาด 1.2-1.5ซม.
ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤภาคม
เป็นกล้วยไม้ดิน มีหัวกึ่งใต้ดิน แผ่นใบขนาดใหญ่ รูปรีแกมรูป
ใบหอกกลับ ทิ้งใบในช่วงฤดูแล้ง
เสือดาว
แหล่งที่พบป่าดิบชื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไปทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉีงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ลักษณะออกดอกเป็นช่อค่อนข้างแน่นที่ยอด ต้นละ1-3ช่อ ช่อดอก
ยาว15-20ซม.ดอกสีครีมหรือสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกขนาด
เล็ก ขนาดไม่เกิน 0.7ซม. ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน
ออกดอกเดือนมกราคม-พฤษภาคม
ต้นอวบน้ำเป็นลำยาว ขึ้นรวมเป็นกอแน่น ใบรูปแถบแคบยาว
แผ่นใบบางและอ่อน
เอื้องข้าวสาร
แหล่งที่พบป่าดิบชื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไปทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉีงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ลักษณะออกดอกเป็นช่อค่อนข้างแน่นที่ยอด ต้นละ1-3ช่อ ช่อดอก
ยาว15-20ซม.ดอกสีครีมหรือสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกขนาด
เล็ก ขนาดไม่เกิน 0.7ซม. ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน
ออกดอกเดือนมกราคม-พฤษภาคม
ต้นอวบน้ำเป็นลำยาว ขึ้นรวมเป็นกอแน่น ใบรูปแถบแคบยาว
แผ่นใบบางและอ่อน
เอื้องบายศรี
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าสน ทางภาคเหนือ ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงมใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง 5-10 ดอก เกิดตามข้อใกล้ยอด ช่อดอกยาว 6-8ซม. กลีบสีเหลือง กางผายออกเล็กน้อย ปลายกลีบปาก
แผ่เป็นแผ่นยาวและวอนออก สีเหลือง มีแถบสีม่วงตามความยาวกลีบ ดอกขนาดประมาณ 1ซม.
ก้านและแกนช่อดอกมีจนสีขาวหนาแน่น
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
กระเจี้ยง
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้ง ป่าสน หรือป่าเบญจพรรณที่สูงจากระดับน้ำทะเล
1,000 เมตรขึ้นไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเดี่ยว กลีบดอกยาวแคบ แรกบานเป็นสีเหลืองอม
น้ำตาล มีจุดหรือขึดสีน้ำตาลแดงหนาแน่ สีกลีบ ดอกจะเข้ม
ขึ้นไปสีน้ำตาลแดงในวันถัดไป ๆ กลีบปากกว้าง ปลายแผ่นเป็นแผ่น สีน้ำตาลแดงเข้ม
หูกลีบปากกว้าง ตรงกลางช่วงโคนมีสันแคบตามแนวยาว ดอกขนาด 5-6 ซม. ดอกบานนาน
และมีกลิ่นหอม
ออกดอกเดือนตุลาคม-มกราคม
เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยหรือขึ้นบนหิน หัวเป็นรูปรี เรียงห่างกันบนเหง้าที่ทอดแผ่ไปได้ไกล
เอื้องไม้ตึง
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อสั้น 3-6 ดอก ตามข้อจากช่วงกลางต้นขึ้นไป
กลับเลี้ยงและกลับดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีม่วง ขอบเป็นคลื่นและบิดพลิ้ว
โคนกลับปากห่อม้วนเป็นหลอดยาว สีม่วง
ช่วงปลายสีเหลือง กลับปากมีจน ดอกขนาด4-4.5ซม. ดอก
บานนานกว่า 1 สัปดาห์
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
เอื้องตะขาบใหญ่
แหล่งที่พบ ป่าดิบชื้นทางภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ยอด ดอกสีเหลือง กลับงุ้มเข้าหากัน
ปลายผายออกเล็กน้อย กลีบปากสีเหลือง ปลายแผ่เป็นแผ่น
ยาวและงอนออกเล็กน้อย ดอกขนาดเล็ก มีขนาดไม่เกิน1ซม.
ดอกบานครั้งละ1-3ดอก
ออกดอกเดือนกรกฏาคม-ตุลาคม
ต้นแตกกอทอดเอนหรือห้อยลง ใบเป็นแผ่นแบน ปลายแหลม
เรีงทแยงชิดกันสลับซ้ายขวา สีเขียวหรือสีเขียวอมน้ำตาล
พบเห็นได้ยากในปัจจุบัน
เอื้องมอนไข่
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งและป่าสนที่สุงจากระดับน้ำทะเล 1,000เมตรขึ้นไปทางภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อแน่นใกล้ยอด ช่อดอกห้อยเป็นพวง กลีบสีขาว
กางผายออก โคนกลีบปากกระดกม้วนขึ้น ปลายแหลม สีเหลือง
ดอกขนาดประมาณ2.5-3ซม. ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ และบาน
นานประมาณ1สัปดาห์
ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน
เอื้องแซะหลวง
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งและป่าสนที่สุงจากระดับน้ำทะเล 1,000เมตรขึ้นไป
ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะุวันออกเฉียงใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อสั้น 1-2 ดอกตามข้อใกล้ยอด กลีบสีขาวอมเขียว
อ่อนเป็นมัน โคนกลีบปากยกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง ปลายแป่
เป็นแผ่นยาว เมื่อแรกบานเป็นสีเขียวอมเหลือง สีจะเข้มขึ้น
ในวันถัดไปจนเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอมส้ม ดอกขนาดประมาณ2ซม. ดอกบาน
นานเป็นเดือน มีกลินหอมมาก
ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
นิยมปลูกกันมานานทางภาคเหนือ ปัจจุบันพบน้อยลงมา
เอื้องตาเหิน
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไปทาง
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อ 1-3 ดอกที่บริเวณใกล้ยอด ดอกสีขาว
กลีบดอกขนาดใหญ่เกือบกลม ขอบย้วยเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบปาก
ปลายหยักเว้าลึก ขอบย้วยเป็นคลื่น กลางกลีบปากมีสีเหลืองสด
ดอกขนาด5-6ซม. ดอกทยอยบานนานเป็นเดือน
ออกดอกเดือนสิงหาคม-มิถุึนายน
พวงหยก
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ที่ช่วงปลายต้นที่ทิ้งใบ 2-3ดอก กลีบดอก
ขนาดค่อนข้างใหญ่ สีขาว ปลายมีสีม่วงเล็กน้อย กลีบปาก
เกือบกลม ขอบม้วนลงเล็กน้อย โคนกระดกม้วนเป็นหลอด
สีขาวหรือสีขาวอมม่วงอ่อนๆ มีปิ้นสีเหลืองที่กลางกลีบ ดอก
ขนาด4-5ซม. ดอกบานาน 3-4วัน
ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม
ต้นมีลักษณะเป็นปมรูปหัวใจแบน เรียงต่อกันเป็นสาย เมื่อต้นโตเต็มที่มักทิ้งใบ
เอื้องเมี่ยง
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ1-3ดอก ตามข้อของต้นที่ทิ้งใบแล้วสีขาวอมม่วงอ่อน
ปลายสีชมพูอมม่วงกลีบกางผายออกโคนกลีบปากกระดกห่อขึ้น ปลายผายออกเป็นแผ่น
เกือบกลมปลายแหลม มีสีเหลืองที่กลางกลับปาก ปลายสุดสีชมพูอมม่วงขนสั้นละเอียดหนาแน่น ดอกขนาด 3-3.5ซม.
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ปัจจุบันพบน้อยลงมาในสภาพธรรมชาติ
เอื้องคำปอน
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวัน
ออก และภาคตะวันตก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ 2-5 ดอกตามข้อต้น กลีบค่อนข้างบางสีเหลือง
กางผายออก โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้น มีเส้นสีแดงตามความยาวกลีบเป็นระยะ
ปลายผายออกเป็นแผ่นค่อนข้างกลม ขอบจักเป็นซี่ละเอียด มีจนสั้นละเอียดหนาแน่น
ดอกขนาด2-2.5ซม.ดอกบานนานกว่า 1สัปดาห์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
ต้นเป็นลำผอมยามคล้ายเทียน ต้นจะทิ้งใบก่อนออกดอก
หวายตะมอย
แหล่งที่พบ พบตามป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อ 1-2ดอก ตามข้อต้นในส่วนที่ไม่มีใบ กลีบเลี้ยง
และกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีขาว กลีบกางผายออก โคนกลีบปากเชื่อมติดกัน
หูกลีบปากกระดำขึ้นทั้งสองข้าง
ปลายผายออก มีสีเหลือง ที่กลางกลีบ ดอกขนาด 2-2.5ซม.ดอกบาน
เพียงวันเดียว มีกลิ่นหอมฉุน
ช่วงออกดอกไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะออกดอกช่วงที่มีอากาศร้อน
แล้วมีฝนตก หรือในช่วงฤดูฝน
เป็นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ออกดอกดก
เอื้องแซะหม่น
แหล่งที่พบ ป่าสนและป่าดิบแล้งที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000เมตร
ขึ้นไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อ 1-3ดอก กลีบสีขาว กางผายออก โคนกลีบ
ปากกระดกขึ้นทั้งสองข้าง สีแดงอมส้ม ปลายแผ่เป็นแผ่นกว้าง ขอบย้วยเป็นคลื่น
สีส้มอมเหลือง ปลายเว้าตื้นเป็น 2แฉกกลางกลีบปากนูนเป็ฯสันตามความยาวกลีบ
ดอกบานนานกว่า 1สัปดาห์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ออกดอกเดดือนมกราคม-เมษายน
ตามต้นมีขนสีดำ เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กที่สวยงาม ปัจจุบันพบได้ค่อนข้างน้อย
กะเรกะร่อนอินทนนท์
แหล่งที่พบ ในป่าดิบชื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000เมตรขึ้นไปทางภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อยาวได้ถึง 1 เมตร ช่อดอกทอดเอนหรือโค้งลง
ดอกมักอยู่ค่อนไปทางปลายช่อ 10-30ดอก กลีบแคบยาวพลิ้วเป็นคลื่น สีเขียว
มีจุดสีม่วงอมน้ำตาลเรียงเป็นเส้นตามความยาวกลีบ หูกลีบปากตั้งขึ้นทั้งสองข้าง
ปลายกลีบลปากแผ่เป็นแผ่นยาว ปลายแหลม ขอบหยักเป็นคลื่นสีเหลือง มีขีดหรือ
จุดสีม่วงอมน้ำตาล แลมีขนยาว ดอกขจนาด 6-7 ซม.ทยอยบานเป็ฯเวลานาน
ออกดอกเดือนพฤภาคม-มกราคม
เป็นกล้วยไม้ที่พบได้น้อยมาในปัจจุบัน
กะเรกะร่อนปากเป็ด
แหล่งที่พบ ภาคกลางและภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อห้อย ยาว 20-60ซม.ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง
กลีบดอกรูปแถบแคบยาว สีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ หูกลีบปากตั้งขึ้นทั้งสองข้าง
สีม่วงแดง ตรงกลางมีสันนูนตามยาว 2แนวดอกขนาดประมาณ3ซม.ทยอยบานเป็นเวลานาน
ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ในสภาพธรรมชาติมักบขึ้นมักพบขึ้นอยู่ตามต้นตาลในท้องนาทางภาคกลาง
เอื้องหมาก
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ และป่าสนทั่วทุกภาค
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อ 4-6 ดอก ช่อดอกเกิดที่ยอดใหม่ทางด้านข้าง
ของโคนหัวเก่า ช่อดอกโปร่ง ยาว15-20ซม. กลีบสีครีม
กลีบเลี้ยงมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอก กลีบดอกเป็นแถบแคบ โคนกลีบปากกระดกขึ้น
ทั้งสองข้าง สีน้กตาลเข้มปลายผายออกขอบย้วยเป็นคลื่น สีเหลืองอมน้ำตาล
มีสันนูนตามยาวที่กลางกลีบปาก ดอกขนาดประมาณ 3ซม.
ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน
เป็นกล้วยไม้ที่พบได้ทั่วไป ปลูกเลี้ยงในออกดอกได้ในภาคกลาง
เอื้องเทียนขาว
แหล่งที่พบ ชายป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
ออกดอกเป็นช่อ 3-6 ดอก ช่อดอกโค้งเล็กน้อยเกิดที่ยอดใหม่ทางด้านข้าง
ของโคนหัวเก่า กลีบสีขาว กลีบเลี้ยงมีขนาดใหญ่
กว่ากลีบดอก กลีบดอกเป็นแถบแคบ โคนกลีบปากกระดกตั้ง
ขึ้นทั้งสองข้าง ปลายแหลม กลางกลีบปากมีสีเหลืองอมน้ำตาล
ขอบสีน้ำตาล ดอกขนาดประมาณ3ซม.
ออกดอกเดือนเมษายน-มิถุนายน
จัดว่าเป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงามากชนิดหนึ่ง
เอื้องเทียนลำเขียว
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อ3-5ดอก ช่อดอกตรงหรือโค้ง ยาว 8-10 ซม.
เกิดที่ยอดใหม่ทางด้านข้างของโคนห้วเก่า กลีบสีครีมหรือสีเหลือง
อมเขียว กลีบเลี้ยงมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอก กลีบดอกเป็นแถบ
แคบ โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง ขอบสีน้ำตาลเข้ม
ปลายแผ่เป็ฯแผ่นกว้าง ขอบย้วยเป็นคลื่น ตรงกลางมีสีเหลืองอมน้ำตาล
ขอบสีน้ำตาลเป็นบริเวณกว้าง และมีสันตามที่กลางกลีบปาก
ดอกขนาดประมาณ3ซม.
ออกดอกเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
เอื้องสร้อยทับทิม
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อโปร่ง ช่อดอกห้อยโค้ง ยาวได้ถึง 20ซม.
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน และมักจะชี้ขึ้นด้านบน
ปลายงุ้มเข้าหากัน สีเขียว มีแถบสีน้ำตาลแดงเข้มตามความยาวกลีบเป็นระยะ
โคนกลีรบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีจาว
อมเขียว ปลายแผ่เป็นแผ่นรูปสามเหลี่ยมปลายตัด ขอบงุ้ม
สีชมพูสด มีตุ่มขนาดเล็กหนาแน่น ดอกขนาด 1-1.2ซม.
ออกดอกเดือนมีนาคม-มิถุนายน
สิงโตร่มใหญ่
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งทางภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ช่อดอกค่อนข้างแน่น ยาว15-30ซม.
ปลายโค้งลง ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ กลีบสีขาว
กลีบปากเว้าเป็น 3แฉก มีสีเหลืองงอมส้มช่วงกลางกลีบปาก ดอกขนาด
ประมาณ 2*4ซม.
ออกดอกเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
เป็นกล้วยไม้ดินที่มักทิ้งใบก่อนออกดอก ปัจจุบันพบได้น้อยลง
มากในสภาพธรรมชาติ
อั้วนวลจันทร์
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งทางภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ช่อดอกค่อนข้างแน่น ยาว15-30ซม.
ปลายโค้งลง ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ กลีบสีขาว
กลีบปากเว้าเป็น 3แฉก มีสีเหลืองงอมส้มช่วงกลางกลีบปาก ดอกขนาด
ประมาณ 2*4ซม.
ออกดอกเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
เป็นกล้วยไม้ดินที่มักทิ้งใบก่อนออกดอก ปัจจุบันพบได้น้อยลง
มากในสภาพธรรมชาติ
อั้วพวงมณี
แหล่งที่พบ ป่าดิบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้
ภาคกลางและภาคใต้
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ปลายโค้งงอเล็กน้อย
ช่อดอกยาวได้ถึง50ซม.กลีบสีชมพู กลีบปากเว้าตื้นเป็น 3แฉก
กลางกลีบปากมีสีชมพูเข้มอมม่วง ดอกขนาดประมาณ 2*3ซม.
ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน
ออกดอกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
เป็นกล้วยไม้ดินที่มักทิ้งใบก่อนออกดอก ปัจจุบันพบได้น้อยลง
มากในสภาพธรรมชาติ
อั้วดอกขาว
เอื้องข้าวเนียวลิงอั้วชมพูไพร
หางแมวเงา
แหล่งที่พบ ป่าดิบชื้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคตะวันตก
ลักษณะ ออกดอกเป็นช่อตั้ง ช่อดอกโปร่ง ยาว 20-50ซม.
ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ กลีบสีชมพู กลีบปากแยกเป็น3แฉก
แฉกกลางปลายเว้า โคนกลีบปากมีเดือยยาว ดอกขนาดประมาณ
2.5*4ซม.ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน ก้านช่อดอกมีขน
ออกดอกเดือนพฤศจิกาย-ธันวาคม
เป็นกล้วยไม้ดินที่มีความสวยงาม ต้นมักทิ้งใบก่อนออกดอก
ปัจจุบันพบได้น้อย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)